20 September 2006

Democracy in Thailand... When? How?

English version:

Just thought I wanted to elaborate on my last post, about my thoughts on the subject. (Will I survive? I already made a few jokes today on how my display picture may be lethal, as we don't have a constitution supporting our freedoms anymore.)

My current display name in MSN messenger pretty much summarizes the points: "We aren't taking a great step backwards; we just never learnt to progress."

One interesting point is how so many of the people agree with and welcome the coup. The reason's pretty simple, actually: the people are fed up with Thaksin.

More fed up than with military interferance in politics, which we thought ended in Bloody May fourteen years ago.

This too clearly reflects upon Thais' habits of not caring about the process, as long as things turn out the way they like. (Compare this to the war on drugs.) Whether this qualifies as an Aesop Frogs-Who-Desired-a-King story, I don't know.

Actually, that we haven't heard voices of opposition may simply be because people still love their lives. But try and take a perspective from current events...

To make proper "Democratic Reforms", the old had to be abolished. Let's reset, and back to the drawing board...

As for the processes we struggled through, from drafting article 211, to electing the Constitution Committee, to creating all those institutions, the hell with it.

If you ask me, well yes, it seems a pity, seeing as we spent fifteen years on them, but in actuality we aren't stepping any much backwards.

If we were, why would people be cheering for the military right now?

It clearly shows how the last fifteen years of reforms haven't taken us anywhere; we're still here with the same old views on the same old events.

Nowhere out of the vicious cycle.

Ever since we changed the name of our government to "democracy" 74 years ago, we've never had any real sense of democracy.

Since democracy isn't gathering to protest against a tyrant, or marking an X on a piece of paper (money received or not).

There has to be the people's understanding and sense of duty, to exercise the rule with is theirs.

Tough, indeed.

And it won't be anyday soon.

We thought we had the perfect people's constitution, but what so far? All the balances and checks so carefully designed undermined. Broken. Why?

Not because of a corrupt leader

Because of the people's ignorance.

If we started anew today, or even if yesterday's events hadn't happened, democratic reform will never make any progress without educating the people.

Don't forget, democracy is rule of the people, by the people, for the people. As long as the people remain stupid, so does the rule, and the nation can never develop.

And as I said to a friend today, if you think we haven't had democracy in the recent past, what could possibly make you believe we will tomorrow, the day after, next year, or in a decade?

To hope wouldn't be enough.

But that's still all we can do today.

Original:

ก็อยากจะขยายความจากโพสท์ที่แล้วสักหน่อย ความเห็นทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ (จะเป็นไรเปล่าเนี่ย... วันนี้พูดเล่น ๆ กับหลายคนอยู่ว่าใช้ display pic นี้อาจตายได้ เพราะไม่มีเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแล้ว)

ชื่อผมใน msn messenger ตอนนี้ก็พอจะสรุปประเด็นหลักไว้ได้: "ไม่ใช่ถอยหลังเข้าคลอง แต่ไม่เคยวิวัฒนาการพอที่จะขึ้นบก"

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการที่เห็นว่าประชาชนจำนวนมากเห็นด้วย และแสดงความยินดีกับการทำรัฐประหาร ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรนอกจากว่าทุกคนต่างเอือมระอากับนายกฯ ทักษิณเต็มทีแล้ว

เอือมระอามากกว่าการแทรกแซงการเมืองโดยทางทหาร ที่สิบสี่ปีที่ผ่านมาเราต่างก็เชื่อกันว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าเก่าที่จบลงที่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเสียอีก

ยังไงก็ยังสะท้อนนิสัยคนไทยที่ไม่ได้สนใจว่าขั้นตอนที่ได้มาจะเป็นอย่างไร ขอให้ได้อย่างที่ต้องการก็พอ (ลองเทียบกับสงครามยาเสพติดนะครับ) ซึ่งมันเข้าสถานการณ์กบเลือกนายหรือเปล่า ผมก็ไม่ทราบ

อันที่จริงการที่ไม่ได้ยินเสียงคนต่อต้านเท่าไรอาจจะเป็นเพราะยังรักชีวิตกันอยู่ก็ได้ แต่ลองมองดู จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วตอนนี้...

จะ "ปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย" เสียใหม่ให้ได้ผล ก็เลยต้องทำลายทิ้งซะ เหมือน reset แล้วเริ่มนับหนึ่งใหม่กันอีกรอบ...

ส่วนกระบวนการที่พยายามตรากตรำกันมาตั้งนาน ตั้งแต่ร่างมาตรา 211 เลือก สสร. ร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งองค์กรอิสระอีกมากมาย ก็โยนทิ้งไป

จริง ๆ แล้ว ถ้าถามผม ผมก็ว่ามันก็ดูน่าเสียดายอยู่ ใช้เวลาอยู่ตั้งสิบห้าปี แต่จริง ๆ แล้ว เราก็ไม่ได้ก้าวถอยหลังอะไรกันนักหรอกครับ

ถ้าถอยหลังจริง แล้วคนจะโห่ร้องแสดงความยินดีกับกองกำลังทหารอยู่ได้อย่างไร

มันสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนครับ ว่ากระบวนการปฏิรูปสิบห้าปีที่ผ่านมา ไม่ได้พาเรามาถึงไหนเลย หากแต่เราก็ยังมีทัศนคติเดิม ๆ กับเหตุการณ์เดิม ๆ ที่เกิดขึ้น

ยังไม่ออกจากอุปาทวจักร

ตั้งแต่เปลี่ยนชื่อการปกครองเป็นแบบ "ประชาธิปไตย" มา 74 ปี เรายังไม่เคยมี sense ของความเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ เลย

ก็ประชาธิปไตยมันไม่ใช่แค่การชุมนุมเพื่อขับไล่ทรราช หรือออกจากบ้านมากากบาทลงกระดาษแล้วใส่กล่อง (จะรับเงินหรือไม่ก็สุดแท้แต่)

แต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจและความสำนึกในหน้าที่ ของประชาชนทุกคน ในการใช้อธิปไตยที่เป็นของตน

ยากครับ

อีกนาน

เรานึกว่าเรามีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่สุดแสนจะเลิศเลอเพอร์เฟ็คท์ แต่ที่ผ่านมาเป็นยังไงครับ balances and checks ทั้งหลายที่ออกแบบมาอย่างดีพังทลายหมด เพราะอะไรครับ

ไม่ใช่เพราะผู้นำทุจริต

แต่เพราะประชาชนไม่เข้าใจ

ไม่ว่าเราจะนับหนึ่งใหม่กันวันนี้ หรือถึงแม้เหตุการณ์เมื่อวานจะไม่ได้เกิดขึ้นก็ตามที การปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็ยังไม่มีวันก้าวหน้าครับ ถ้ายังไม่สามารถส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสำนึกของประชาชนได้

อย่าลืมนะครับ ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ตราบใดที่ประชาชนยังโง่อยู่ การปกครองก็โง่ตาม ประเทศชาติก็ไม่อาจพัฒนาได้

และอย่างที่ผมคุยกับเพื่อนวันนี้ ถ้าคิดว่าที่ผ่านมาเรายังไม่มีประชาธิปไตย แล้วคิดหรือว่าพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีหน้า หรืออีกสิบปี เราจะมี?

ช่วยกันหวัง คงจะไม่พอครับ

แต่ตอนนี้ ก็ยังคงทำได้แค่นั้น

Tags: |

Nowhere nearer to democracy

As submitted to CNN.com's I-Report:

The very exchange here on CNN's I-Report clearly shows the dividedness of opinion among Thais themselves. Thaksin is indeed such a polarizing figure that those on the anti-Thaksin end of the spectrum would more than welcome military efforts or anything against him, even though such events are generally viewed as part of the nation's infantile struggle with democracy. Many who disagree with military action aren't Thaksin supporters, and as Mr Jerauld reported above, "thought they had put this kind of political interferance behind them and see this as a giant step backwards".

These events, however, reflect upon Thailand's immature state as a democratic monarchy. The last three major events of violence involving the military have been settled only by intervention of the King, and even now, while processes are being held to regain a democratic government, a coup is happening in much the same way as what happened fifteen years ago, bringing us back into the vicious cycle we naïvely hoped we had escaped. It is unimaginable what kind of development the country will have to go through should the time come when the King is no longer available to settle such events.

Thai version:

คอมเมนต์ที่แสดงกันอยู่นี้แสดงให้เห็นความคิดเห็นที่แตกแยกของคนไทยได้อย่างชัดเจน คุณทักษิณนั้นทำให้คนที่เกลียด ก็เกลียดจนยินดีกับการแทรกแทรงโดยทางทหาร (หรืออะไรก็แล้วแต่) ทั้งที่ทุกคนต่างก็มองเหตุการณ์เช่นนี้ว่าเป็นส่วนของประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยากลำบากในอดีต คนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการที่กองทัพทำเช่นนี้ก็ไม่ได้ชอบทักษิณเลย และคิดว่าเหตุการณ์เช่นนี้น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ผ่านไปแล้ว และมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างจัง อย่างที่คุณ Jerauld กล่าวไว้

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เหล่านี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของประเทศไทยในฐานะรัฐประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เหตุการณ์รุนแรงที่มีทหารเกี่ยวข้องล่าสุดสามครั้ง จบลงได้เพียงเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงมาไกล่เกลี่ย และตอนนี้ แม้เรากำลังพยายามดำเนินขั้นตอนให้ได้มาซึ่งรัฐบาลประชาธิปไตยใหม่ ก็ยังมีรัฐประหารที่แทบจะเหมือนกับเมื่อสิบห้าปีที่แล้วไม่มีผิด ซึ่งก็พาเรากลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์ที่ต่างก็หวังลม ๆ แล้ง ๆ ไว้ว่าจะรอดพ้นมาแล้ว เรื่องหนึ่งที่ไม่อาจจินตนาการถึงได้เลยก็คือ หากมีวันหนึ่งที่ไม่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคอยช่วยเหลือแล้ว ประเทศชาติจะต้องผ่านวิบากกรรมอะไรอีกบ้าง กว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตย

Tags: |

16 September 2006

The seasons, they stopped changing.

ไม่เกี่ยวกับหนังหรอก... แต่นึกถึงเรื่องฤดูกาลก็รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้มันหายไปจากชีวิตมากทีเดียว

โดยเฉพาะตั้งแต่เรียน ปี 3 นี่ ตื่นนอน ออกจากบ้าน ขึ้นรถ ลงรถ เดินเข้ากล่องคอนกรีตปรับอากาศ 19 ชั้น อยู่ในนั้น 10 ชั่วโมง ออกมา กลับบ้าน นับได้ว่าแทบไม่มีเวลาหายใจกับอากาศข้างนอกเลย (อยู่บ้านก็ดันอยู่ในกล่องขนาด 40 ลูกบาศก์เมตรที่ไม่ค่อยจะได้เปิดหน้าต่าง)

อย่างน้อยตอน ปี 1 ก็มีเหตุบังคับให้เดินรอบจุฬาฯ ในแต่ละวัน ช่วงฤดูนี้ถึงจะต้องฝ่าฝนไปไหน ๆ ก็ยังแต่งแต้มสีสันให้ชีวิตอยู่บ้าง

ตอนนี้นี่ได้แต่กางร่มข้ามสะพานลอยหน้าหมู่บ้าน

แอบคิดถึงเวลาเก่า ๆ (ที่ไม่มีวันกลับมาแล้ว) ที่ยังมีละอองฝนพัดผ่านมาเวลาเรียน จำได้เวลาฝนตกที่สาธิตเกษตรที่ลมพัดหน้าต่างปิดดังจนตกใจอยู่บ่อย ๆ ที่เตรียมฯ ก็ยังนึกถึงแต่ละวันที่ต้องกางร่มเดินหลบแอ่งน้ำอยู่

ยิ่งเมื่อวานนี้ ฝนตกเกือบทั้งวัน โดยที่ไม่ได้รู้ตัวเลย

เฮ้อ...

11 September 2006

September 11

Another day past, another date to mark these times of conflict... These conflicts of misunderstanding...

9 September 2006

เทพนิยำ

ก็ไปดูมาแล้วล่ะ ที่จริงไม่ได้มีอะไรหรอก แต่จะบอกว่า ตลกสูจิบัตรน่ะ... มีการต้องประจานด้วยซะงั้น

7 September 2006

Imagine

Imagine - John Lennon

Imagine there's no heaven;
It's easy if you try.
No hell below us;
Above us, only sky.
Imagine all the people
Living for today.

Imagine there's no countries;
It isn't hard to do.
Nothing to kill or die for,
And no religion too.
Imagine all the people
Living life in peace.

You may say I'm a dreamer,
But I'm not the only one.
I hope someday you'll join us,
And the world will be as one.

Imagine no possessions;
I wonder if you can.
No need for greed or hunger;
A brotherhood of man.
Imagine all the people
Sharing all the world.

You may say I'm a dreamer,
But I'm not the only one.
I hope someday you'll join us,
And the world will live as one.

ทีแรกนึกถึงอยู่ว่ามีเรื่องที่อยากจะเขียนพอควร แต่นึกดูแล้วคิดว่าเพลงนี้ก็ค่อนข้างสื่อสิ่งที่คิดอยู่ได้เกือบทั้งหมดทีเดียว