30 March 2014

เรื่อยเปื่อย เรื่องกีฬา

กีฬา

คำนี้ฟังแล้วบางครั้งก็รู้สึกใกล้ตัว แต่บางครั้งก็กลับไกล

ท่านผู้อ่านทุกท่านน่าจะเคยได้เรียน สัมผัส และหัดเล่นกีฬามาบ้าง อย่างน้อยก็จากชั่วโมงพลศึกษาในโรงเรียน

ผมเองจำได้ว่าเคยถูกโรงเรียนบังคับให้เล่นลองสัมผัสกีฬาหลายประเภทอยู่ เท่าที่นึกออกก็มีฟุตบอล บาสเกตบอล แฮนด์บอล แชร์บอล วอลเลย์บอล เทนนิส ปิงปอง แบดมินตัน เซปักตะกร้อ ยิมนาสติก ไอคิโด กระบี่กระบอง วิ่ง กระโดดไกล กระโดดข้ามรั้ว ทุ่มน้ำหนัก พุ่งแหลน ว่ายน้ำ แล้วก็ลีลาศ (ห่วงยางเชลยนี่นับมั้ย?)

แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เอาอ่าวสักอย่าง หลังจบมัธยมมาก็เหลือที่มีโอกาสสัมผัสอยู่แค่หยิบมือเดียว

และก็กลายเป็นว่ากีฬาที่เคยเรียนมาเยอะแยะนั้นส่วนใหญ่ก็เหลือมีโอกาสเห็นแค่ในหน้าข่าวหนังสือพิมพ์และการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ (รวมทั้งกีฬาที่ไม่เคยเรียนด้วย โอลิมปิก ณ ลอนดอนที่ผ่านมา ผมนั่งดู canoe slalom เยอะสุดเลยมั้ง)

แต่นั่นก็น้อยที่ไหนกัน ผมเคยสงสัยอยู่บ่อยครั้งว่าเหตุใดกีฬาจึงได้รับพื้นที่ข่าวมากมายทุกวัน ทั้งที่เทียบกันแล้วมันดูเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราน้อยเสียเหลือเกิน แต่การติดตามกีฬาในฐานะผู้ชมมันก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยมทุกวันนี้ และคงยากที่จะชำแหละหาที่มาที่ไป

อันที่จริงแต่ละคนคงมีความใกล้ชิดกับกีฬามากน้อยแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะในฐานะผู้ชมหรือผู้เล่น อย่างตอนมัธยม สามารถแบ่งนักเรียนชายได้คร่าว ๆ เป็นสองสายพันธุ์ คือคนที่เตะบอลตอนพักกับคนที่ไม่เตะ (คงไม่ต้องบอกว่าผมอยู่กลุ่มไหน ที่จริงยังมีพันธุ์ย่อยที่แปลกกว่านั้นอีก เช่นคนที่แวบไปตีเทนนิสก่อนเข้าแถว—อีลีทสุด ๆ)

ซึ่งหลายคนที่เตะบอลตอนพัก ก็ยังคงเล่นอยู่ตอนที่จบมัธยมออกมาแล้ว และหลายคนในกลุ่มนี้ก็ติดตามดูฟุตบอลลีกทางโทรทัศน์ แต่เรื่องของเรื่องคือสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ความเป็นผู้ชมกับความเป็นผู้เล่นมันแทบไม่สัมพันธ์กันเลย

คิดดูแล้วก็มันก็มองได้ว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกอย่างที่ดูในโทรทัศน์เราก็ไม่ได้ทำเองสักหน่อย แต่ผมก็ยังรู้สึกว่ามันทั้งใกล้และไกลตัวแปลก ๆ เวลาที่เห็นฝูงชนหน้าจอโทรทัศน์ร่วมเชียร์นักกีฬาทีมชาติแข่งกีฬาที่คนดูต่างก็ไม่มีใครเคยเล่น

ที่จริงแล้วสำหรับกีฬาฟุตบอล ความแตกต่างระหว่างการเป็นผู้ชม-ผู้เล่นนี้อาจจะไม่ได้เห็นชัดเจนมากนัก เพราะในปัจจุบันนี้ฟุตบอลเองเหมือนจะเป็นกีฬาสากลที่ได้แทรกซึมสู่ทั้งผู้ชมและผู้เล่นไปแล้วทั่วทุกหย่อมหญ้า

หรือเปล่า?

มหานครเมืองหลวงแห่งนี้มีพื้นที่เปิดอยู่พอควร (ถึงจะยังไม่ค่อยพอก็เถอะ) และหลายส่วนของพื้นที่เหล่านี้ก็ได้ถูกจัดสรรเป็นสนามกีฬา ลองไล่ดูภาพถ่ายดาวเทียมใน Google Maps ก็จะเห็นสนามกีฬาเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งตามสวนสาธารณะ สถานศึกษา หมู่บ้านจัดสรร...

และเห็นว่าเป็นสนามเทนนิส บาสเกตบอล และฟุตซอลเกือบทั้งสิ้น~

นึกดูก็ตลกดี โอเคฟุตบอลสนามเล็กนี่ไม่น่าแปลกใจ แต่ในความรู้สึกแล้วเทนนิสเป็นกีฬาที่คนเข้าถึงกันได้ค่อนข้างน้อย ทำไมจึงดูเหมือนว่าจะได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เยอะเกินสัดส่วน หรืออย่างบาสเกตบอล ถึงจะมีคนเล่นพอควร แต่ก็ไม่มากเท่าสนามที่มี ภาพนักเรียนเตะฟุตบอลกันใต้แป้นบาสก็น่าจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี

แต่อืม ลำพังสุ่มดูภาพถ่ายดาวเทียมก็คงบอกอะไรไม่ได้อยู่แล้ว เพราะกีฬาแต่ละประเภทก็มีความต้องการใช้พื้นที่แตกต่างกันไป (ถ้านับพื้นที่จริง ๆ กอล์ฟนี่คงเปลืองสุดละ) ที่อยู่ในร่มก็อีกเยอะ และจริง ๆ แล้วปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กีฬาฟุตบอลเป็นที่นิยมแพร่หลายก็เพราะความเรียบง่ายของมันที่เล่นได้โดยไม่ต้องมีสนามตีเส้นไว้ด้วยซ้ำ

หากเดินผ่านโรงเรียนมัธยมใด ๆ เวลาพักหรือหลังเลิกเรียน ก็คงจินตนาการได้ไม่ยากว่าฟุตบอลคงจะเป็นกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของยุคสมัย แต่จากการเตร็ดเตร่ผ่านพื้นที่เปิดสาธารณะอื่นหลายแห่ง ผมยังพบภาพอื่น ๆ ที่ทีแรกก็ไม่นึกถึงเหมือนกัน

ตะกร้อ ถึงจะเห็นมาแต่ไหนแต่ไร และเคยเรียนตอน ม.ต้น ผมก็แทบไม่เคยรับรู้เลยว่ามันเป็นกีฬาที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน (จะเข้ามาในความคิดก็แต่เวลามีแข่งซีเกมส์หรือเอเชียนเกมส์) แต่เมื่อลองสังเกตชีวิตริมทางใน กทม. จึงได้เห็นว่ามันก็มีคนเล่นอยู่ทั่วไปไม่ต่างจากฟุตบอลเท่าไรเลย (จะต่างกันก็อายุเฉลี่ยคนเล่นนี่แหละ ที่ดูจะมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ)

เปตอง น่าแปลกใจที่ไม่เคยเรียน (หรือเคยแต่ลืมไปแล้วหว่า?) เพราะที่โรงเรียนก็มีสนามอยู่มากมาย และก็เห็นเขาซ้อมกันอยู่ประจำ ที่จริงไม่ใช่แค่ที่โรงเรียน แต่สนามเปตองนี่น่าจะมีอยู่ในสถานที่ราชการแทบทุกแห่งเลยก็ว่าได้ และก็มักจะเห็นคนเล่นอยู่เนือง ๆ ว่าไปก็น่าสงสัยว่าทำไมราชการต้องเปตอง?

ส่วนแบดมินตันนี่ไม่ได้เห็นบ่อยตามริมทาง (เพราะสนามส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในร่ม) แต่ก็คงไม่พ้นว่าเป็นกีฬายอดนิยมสำหรับครอบครัวชนชั้นกลาง ที่อย่างไรเสียทุกบ้านน่าจะมีหรือเคยมีไม้แบดอยู่อย่างน้อยคู่นึง ที่จะได้หยิบเอามาเล่นกันในซอยหน้าบ้านหรือพื้นที่เปิดใด ๆ ที่สะดวก

คิด ๆ ดูแล้ว กีฬาแต่ละอย่างมันก็คงเป็นที่นิยมของคนต่างกลุ่มกันไป หลายอย่างที่เรารู้สึกว่าไกลตัว นั่นอาจจะเพราะว่าคนที่เล่นกันเขาไม่ได้เป็นส่วนของสังคมที่เราเห็นอยู่ทุกวัน แต่หากลองสังเกต ลองสำรวจโลกรอบตัวดู เราก็อาจจะได้เห็น ว่ามันไม่ได้อยู่ไกลอย่างที่คิดเลย

22 March 2014

Bangkok's taxi problem: Are mobile apps the solution?

It is a perennial topic of grievance for the citizens of Bangkok, and the set-up is all-too-familiar. It is the evening rush hour, and you are trying to find your way among the throngs of commuters travelling in this city of 10 million. It might be the lack of public transport leading where you need to go, you might be unfamiliar with the neighbourhood, or just are in a hurry. But you decide to take a taxi. After several brightly coloured cars pass by, all with passengers, you successfully flag down one with red lights behind the windscreen indicating a vacancy. But when the driver hears where you're headed, he simply shakes his head, refusing to go. You sigh in frustration, but know it's useless to argue, and so try to patiently wait for another cab to come by. The same exchange is repeated a few more times. When one driver finally agrees, you end up gratefully thanking him for upholding his end of the bargain, something which should have gone without saying in the first place.

Such scenes take place daily throughout the city, probably in the thousands. Everyone seems to have been the victim of such refusals. Online communities are rife with criticism and complaints. Discussions regularly pop up on popular discussion forums. Twitter is abound with one-liners featuring fanciful revenge scenarios against passenger-denying cabbies and their lame excuses. The press has periodically picked up on all this anger. All to no avail.

It's not that the authorities are unwilling to accept the problem or that they haven't tried to better enforce the law (denying passengers is illegal, according to the Motor Vehicle Act, B.E. 2522). Rather, there hasn't been much choice in terms of actions that could directly benefit either passenger or driver. Take the Department of Land Transport's hotline, tel. 1584. The complaint-lodging system has existed for years, but with few people bothering to actually report the transgressions they witnessed. Awareness campaigns have done little to promote its use. This is probably because any action taken against the reported drivers remain invisible to passengers, most of whom have little faith in the system to begin with. For them, given the lack of assurance that their feedback produces results, the cost of their phone call is unjustifiable. The system is also prone to abuse. With no evidence required, false complaints can easily be submitted, though moving to better secure the system would further reduce its use.

Other initiatives have also arisen in attempts to fill this void. There are mobile apps that streamline the complaint-lodging process and websites that aggregate openly accessible feedback for individual taxis. However, such attempts haven't proven helpful, either. For user feedback to be of any use, it must be able to directly influence the future selection of cabs by other passengers, thereby rewarding good drivers and punishing bad ones. But there is a disconnect between the availability of feedback and the way we actually pick taxis, which is essentially a lotto, depending on who happens to drive by at that moment.

This is where mobile taxi-hailing apps come in.

The spotlight has been on hired-transport apps this past month. The international expansion of Uber and the regulatory backlash against it, as well as the scuffle between competing taxi apps and authorities in Beijing and Shanghai, show how big a role these apps will have to play in shaking up the workings of this relatively stagnant market. While Uber, a quasi-luxury service that connects passengers and drivers for rides, launched with fanfare in Bangkok earlier this month, two other regular-taxi apps have been operating since late last year, and are growing. Easy Taxi is based in Brazil and operates in 26 countries, while GrabTaxi is local and covers several cities in Southeast Asia. Both of them are currently focused on streamlining the cab-hailing process, providing real-time updates and contact info. But there is still also much potential for expansion in other areas.

These apps currently rely on driver and vehicle screening to achieve a certain standard. This effectively creates a small pool of quality taxis to offer passengers, which works, to a degree. As adoption rates grow, such assurance of quality will become increasingly difficult, and it will be essential to employ some form of user-generated feedback. These apps are in the perfect position to bridge the aforementioned gap between feedback and future rides. Whereas passengers have neither choice nor information when flagging down a taxi on the street, hailing through an app can provide them with both, potentially allowing them to avoid poorly rated drivers. Earlier digital taxi-hailing initiatives such as Governor Apirak's "smart taxi stands" failed in part due to both passengers and drivers not honouring calls. Feedback systems, combined with the increased accountability of hailing through apps, could help address this.

The greatest potential benefit of mobile-hailing apps, however, lie in how they can improve the efficiency of the market. By providing information and conveniently connecting passengers to taxis, they can help reduce the huge transaction costs normally involved, not least by cutting the time cabdrivers would otherwise spend roaming the streets with empty cars. One can easily imagine these benefits mounting as popularity of these apps increase and their underlying systems become more sophisticated. Providing passengers with the nearest cab is a start. Implementing a feedback system is but a step further. A well designed system might soon be able to match passengers and drivers in a way that maximises all parties' interests, e.g. identifying the driver most willing to go to a passenger's destination. This may even eliminate the root causes that created the problem in the first place.

There are many more ways mobile taxi-hailing apps could transform the market. However, not everybody today owns a smartphone. Considerations still need to be given to fairly balancing the provision of services among app-users and those who would rather opt to flag down a cab the traditional way. As seen from the cases in China and elsewhere, drastic changes to the system are likely to be at odds with regulations designed for an earlier era. Eventually, formal changes will be needed. But there is still much room for growth today.

And I am hopeful.