29 May 2010

ปริญญา-ค่านิยม-สังคมไทย

สวัสดีครับ ก่อนอื่นขอแจ้งให้ทราบว่าผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ และยังไม่ได้เลิกเขียนบล็อกแต่อย่างใด เรื่องเก่า ๆ ที่ดองไว้ยังคงอยู่ใน to-do list รอวันที่จะได้ผุดได้เกิดต่อไป

ช่วงนี้ผมและเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันก็กำลังมีเรื่องต้องวางแผนและเตรียมตัวเกี่ยวกับงานรับปริญญาอยู่พอควร ซึ่งก็มีรายละเอียดให้วุ่นวายหลายอย่างทั้งเรื่องลางาน การเดินทาง ตัดชุดครุย ฯลฯ แต่ลำพังการเตรียมตัวที่จำเป็นเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นปัญหายุ่งยากเท่ากับภาคเสริมที่เพิ่มเข้ามา ทั้งการนัดเพื่อน หาคนถ่ายรูป แต่งหน้าทำผม ฯลฯ ที่ดูเหมือนว่าด้วยค่านิยมของสังคมในปัจจุบัน ก็เกือบ ๆ จะกลายเป็นภาคบังคับไปอีกส่วนแล้ว

ผมเองปกติก็ว่าไม่ชอบทำอะไรตามกระแสเท่าไร แต่ก็ยังหวั่น ๆ อยู่เลยครับว่าถ้าไม่มีช่างภาพส่วนตัวเหมือนเพื่อน ๆ แทบทุกคนที่เจอตอนรับปริญญากันเมื่อสองปีก่อนนี่จะแปลกประหลาดขวางโลกไปหรือเปล่า ไม่รู้มัธยฐานของสังคมเค้าต้องเตรียมอะไรกันแค่ไหน

Case in point: บทความชุด Commencement Guideline ของคุณ puyisme ที่เว็บไซต์คณะกรรมการบัณฑิตจุฬาฯ (กบจ.)¹ เอามาลงไว้

คิดว่าถ้าเรียกการเตรียมตัวระดับนี้ว่าเป็นมาตรฐานชั้นหนึ่งของสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก (ขออภัยหาก offend - ไม่มีเจตนาเจาะจงว่าใคร แต่อยากกล่าวถึงค่านิยมของสังคมในภาพรวมเฉย ๆ) ซึ่งก็ไม่ได้คิดจะทำตามหมดนั่นอยู่แล้วล่ะ แต่อ่าน ๆ ไปแล้วก็ติดใจตะหงิด ๆ อยู่บางอย่าง

อย่างตรงการเชิญแขกผู้มาร่วมแสดงความยินดีนี่มัน... ยังไงนะ? ในความรู้สึกของผม ปกติแล้วงานที่จะมีการเชิญให้เข้าร่วมนั้นน่าจะต้องมีการเลี้ยงตอบรับ หรือให้แขกมีอภิสิทธิ์ได้เข้าร่วมในพิธีสำคัญบางอย่าง แต่ตรงนี้อย่าว่าแต่แขกเหรื่อมากมายที่ไหนเลย พ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่มีสิทธิ์เข้าหอประชุมเลยด้วยซ้ำ (ซึ่งผมก็สงสัยอยู่ว่าแล้วตกลงงานรับปริญญานี่จัดให้ใครนะ ไม่ใช่ว่าที่ทั่วไปมักถือกันว่าพ่อแม่เป็นคนส่งเสียให้เล่าเรียนมา ก็ควรจะได้มีส่วนร่วมในงานพิธีนี้หรอกเหรอ)

หรืออย่างการมีผู้ดูแลที่แทบจะต้องคอยรับใช้ทุกอย่าง ซึ่งพาให้ผมนึกไปถึงคอลัมน์ Miss Manners ของ Judith Martin ที่เคยกล่าวถึงแนวโน้มของงานแต่งงานอเมริกันที่นับวันจะพลิกผันเป็นงานเติม ego ของเจ้าสาวที่มักเห็นเพื่อนเจ้าสาวเป็นทาสรับใช้และเห็นแขกเป็นบ่าวบริพาร (Miss Manners ยังกล่าวอีกว่ามักมีญาติสนิทเพียงไม่กี่คนที่จะอยากมีส่วนร่วมในงานรับปริญญาของบัณฑิตจบใหม่)

ความจริงเกือบทุกแง่ของการรับปริญญาตามแบบสมัยนิยมที่ว่านี้ ก็ดูจะคล้อยตามค่านิยมงานแต่งงานที่เห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ทั้งการเตรียมการเยอะแยะที่ว่า แล้วไหนจะการจัดฉากถ่ายรูปให้ดูดีเป็นพิเศษ ฯลฯ

ก็คงสอดคล้องกับความที่ว่าในสังคมไทย การรับปริญญาดูจะเป็นก้าวการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแต่งงาน

เพราะกระดาษแผ่นเดียวนี้มันเป็นทั้งใบอนุญาตให้มีตัวตนอยู่ในโลกการทำงาน เป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ของวงศ์ตระกูล และสำหรับบางคนมันอาจเป็นใบเบิกทางที่เปิดให้ก้าวข้ามกำแพงแห่งชนชั้นได้ในที่สุด


  1. เคยบ่นว่าคำอย่างนี้ที่ควรจะทับศัพท์ตามรากบาลี (paṇḍita) ก็ดันใช้ราชบัณฑิตฯ

8 comments:

  1. อืม bandit...

    ที่มหาลัยก็คุยกันอยู่ว่า จะรับดีไหมนะ (ยังมีเวลาคิดอีกสองปี)

    ReplyDelete
  2. - I comment in Cubic blog na krub.

    - @Chayanin, why not la krub, or because of Sa-ta-ban?

    ReplyDelete
  3. เห็นด้วยเลยว่า มันกลายเป็นค่านิยมไปแล้ว ทั้งๆ ที่ประเทศอื่น ไม่เห็นเค้าจะเว่อร์กันขนาดนี้เลย เค้าก็หน้าตาปกติมารับกัน

    ตอนเรารับเราก็ให้อามา่ถ่่ายให้ กล้องฟิล์มธรรมดาด้วยซ้ำ แต่ช่างแต่งหน้านี่คิดผิดไปหน่อย น่าจะเลือกดีกว่านี้ แต่งแบบนี้ ไม่แต่งยังดีซะกว่า วันนั้นเหนื่อยมากๆๆ แดดก็ร้อน กว่าจะรับเสร็จก็ยิ้มไม่ออกแล้ว เหนื่อยสุดๆ

    แต่กระนั้น เราว่า คุณพอก็จ้างๆ มาเหอะ เพื่อความสบายใจของที่บ้าน เพราะเค้าจะได้เอารุปเราไปภาคภูมิใจอีกนาน เราว่า พ่อแม่เรา ดีใจที่เราเรียนจบมากกว่าตัวเราซะอีก ^_^

    ReplyDelete
  4. Anonymous ข้างบนนี่ใช่เชียร์หรือเปล่านะ

    ReplyDelete
  5. ม่ายยช่ายยยยย เดาผิดแล้วคุณพอ หุหุ

    เราว่าไกด์ไลน์นั้นเว่อร์ไม่น้อยเลยนะ จะมีซักกี่คนที่ทำขนาดนั้นจริงๆ แล้วทำไปแล้วมันรู้สึกดีขึ้นตรงไหนเนี่ย ไม่เข้าใจ

    ของเรา เราชอบวันซ้อมมากกว่าวันรับจริงเสียอีก แต่งหน้าถูกใจ เวลาดี ใครๆ ก็มาสะดวก ไม่ลำบากที่บ้านต้องรอด้วย
    ตอนแรกบอกพ่อแม่ว่าจะจ้างช่างภาพ เค้าก็บ่นๆ เสียดายตังค์ แล้วพ่อก็บอกว่าเดี๋ยวถ่ายให้เอง ไม่ต้องจ้าง (เอาความเป็นช่างภาพมืออาชีพมาอ้าง-หารู้ไม่ว่าตัวเองถ่ายรูปติดบัตรให้ลูกไม่เคยสวยซะที 555)
    วันซ้อมผ่านไป ตอนเย็นพ่อเอาตังค์มาให้สองพัน บอกว่า "ค่าช่างภาพวันจริง" ประมาณว่าเหนื่อย ขี้เกียจวิ่งตามลูก แต่เก๊กไว้ก่อน 555555555

    วันจริง เราเปลี่ยนช่างแต่งหน้า เหตุผลก็แค่เพราะเพื่อนๆ อยากเปลี่ยน บอกว่าช่างวันซ้อมแต่งไม่สวย (แต่งด้วยกันสี่คนออกมาดีแค่เรา -*-) ปรากฏว่าแย่กว่าวันซ้อม ทำเอาเซ็งไปนิดนึง

    ตากล้องวันจริงเราจ้างรุ่นน้องนิสิตที่รู้จักกัน ภาพดี ราคารับได้ (ครึ่งวัน 1000 เอง ทิปไปอีกสองร้อยยังไม่รู้สึกว่าแพง) ถ้าไม่อยากลำบากพ่อแม่ตามถ่าย แบบนี้เราว่าคุ้มสุดละ หาตามชมรมโฟโต้อ่ะคุณพอ
    attendant นี่ก็อีก ใครมันจะใจบุญยอมมาอุทิศตนเพื่อบัณฑิตขนาดนั้นถ้าไม่ใช่แฟน หรือพี่น้องที่สนิทๆ ของเราวันซ้อมมีรุ่นน้องผู้ชายมาช่วยหอบของ เกรงใจมันมาก วันจริงก็ตากล้องนั่นแหละช่วยๆ กัน โชคดีว่าพร็อพไม่เยอะเท่าไหร่

    เรื่องนัดเพื่อนเราแทบไม่ได้นัดใครเป็นทางการเลย เพื่อนคณะก็เจอกันแน่นอนอยู่แล้ว เพื่อนเตรียมก็รู้กันว่าเด็กจุฬารับวันไหน มีแต่ญาติๆ ที่ต้องเชิญกันแค่นั้นเอง ส่วนที่เหลือก็ปล่อยให้โชคชะตาพาไป ความสัมพันธ์มันไม่ได้ตัดสินด้วยการมาถ่ายรูปคู่กันแค่หนึ่งวันนี่เนอะ


    พูดตรงๆ ถ้าเลือกได้ก็คงไม่เข้ารับเหมือนกัน ไม่ใช่แค่เหตุผลเรื่อง "นั้น" แค่รู้สึกว่ามันลำบากและผลาญเวลาโดยใช่เหตุ แต่ด้วยความที่เป็นหลานคนโต และคนแรกที่จบจุฬาฯ เลยเกิดอาการเกรงใจญาติแบบอัตโนมัติ
    ตรงกับย่อหน้าสุดท้ายของคุณพอเป๊ะเลยแฮะ~~~


    วันรับปริญญาที่นี่ ไม่มีแม้แต่ใส่ครุย เข้าหอประชุมเสียด้วยซ้ำ รับกันในห้องเรียนธรรมดานี่แหละ มีกันแค่นักเรียนในโปรแกรมไม่กี่คน รู้สึกว่ารุ่นพี่ทั้งหลายจะสนใจกับ Graduation party หลังรับปริญญามากกว่าเสียอีก
    หรือนี่จะเป็นการสนอง ego อีกแบบหนึ่งก็ไม่รู้

    ReplyDelete
  6. ไม่ใช่เรื่องนั้นตรงๆ หรอกครับ ถ้าถามผม ผมว่ามันน่าเบื่อน่ะครับ ไม่ชอบอะไรที่เป็น ceremonial หาสาระไม่ได้เท่าไหร่

    เพื่อนบางคนก็ค่อนข้างแคร์เรื่องตัวบุคคลด้วย

    ReplyDelete
  7. เอ่อ ลืมทักไปอย่างนึง

    ปณฺฑิตฺ ถอดว่า panฺdฺit นะคุณพอ เป็นวรรคมุทธชะทั้งคู่ ต้องใส่จุดด้วย

    ReplyDelete
  8. อ่า มึน พอดีทีแรกจะพิมพ์ภาษาอังกฤษธรรมดาว่า pundit แต่แล้วก็คิดว่านี่มันก็ไม่ตรงรากนี่นา ก็เลยเปลี่ยนใจจะแก้เป็น IAST แล้วดันแก้ไปตัวเดียว

    ReplyDelete