เมื่อวานนี้ตอนต้นชั่วโมง Ethics อาจารย์สมเกียรติมาพูดเกี่ยวกับการนำเสนองาน มีส่วนหนึ่งที่พูดถึงการเป็น evidence-based
ที่จริง evidence-based medicine ผมเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะปลูกฝังให้นิสิตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะกว่าที่จะได้เรียนเอาตอนปีสามมันค่อนข้างสายที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและกระบวนการคิด ความจริงที่อาจารย์สมเกียรติพูดมาแล้ว 2-3 ครั้งผมยังคิดว่าไม่ได้นำเสนอในมุมมองที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญเพียงพอ และอาจยังไม่เข้าถึงนิสิตได้จริง ๆ
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็อย่างเรื่องน้ำดื่ม reverse osmosis นั่นแหละครับ...
แต่เรื่องที่อยากจะพูดถึงมานานแล้วเหมือนกัน ที่อาจารย์พูดถึงนิดหนึ่ง คือ plagiarism
pla·gia·rize
v. pla·gia·rized, pla·gia·riz·ing, pla·gia·riz·es
v. tr.v. intr.
- To use and pass off (the ideas or writings of another) as one's own.
- To appropriate for use as one's own passages or ideas from (another).
To put forth as original to oneself the ideas or words of another.Source: The American Heritage® Dictionary of the English Language, Fourth Edition
Copyright © 2000 by Houghton Mifflin Company.
Published by Houghton Mifflin Company. All rights reserved.
- Provided by Reference.com
ประเด็นที่อาจารย์พูดถึงเรื่องนี้จริง ๆ ก็มีอยู่ไม่มาก (คือตรงที่ว่าเวลาที่หาข้อมูลมาแล้วต้องสรุปความเรียบเรียงให้เหมาะสม ไม่ใช่ copy มาทั้งดุ้นโดยบางทีก็ยังไม่ได้อ่าน) แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามความสำคัญไปมากในสังคมการศึกษาของเราในปัจจุบัน
เวลาที่ทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ บางครั้งผมเองก็ค่อนข้างอึดอัดใจที่เพื่อนทำงานโดย copy มาจากแหล่งบนอินเทอร์เน็ตทั้งดุ้นแบบที่อยากจะหา reference แล้ว Google หาเอาได้เลยว่ามาจากที่ไหน ผมคงว่าเพื่อนที่ทำแบบนั้นไม่ได้ แต่คงต้องโทษระบบการศึกษาและลักษณะสังคมของเราที่ไม่ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญาเท่าที่ควร และไม่ได้สอนให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของการทำงานเช่นนี้ (เวลาทำรายงาน เราพยายามที่จะรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งแล้วทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วเรียบเรียงด้วยถ้อยคำของเราเอง หรือ copy ข้อมูลมาแปะให้รายงานหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้มากกว่ากัน?)
ผมก็เคยทำแบบข้อต้นบ่อย ๆ แต่พอได้อ่านบทความโดย Paul D. Rosevear ถึงเริ่มตระหนักได้ว่านิสัยการทำงานอย่างที่เราทำกันบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเพื่อทำให้งานนั้นเสร็จ ๆ ไปหรือเพราะไม่รู้ว่าวิธีที่เหมาะสมเป็นอย่างไร เป็นเพียงสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาจากความผิดพลาดของระบบการศึกษาที่มองข้ามแก่นของกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ไป
อย่างไรก็ตาม เฉพาะตัวเอง ถ้ารู้แล้ว เราคงไม่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต่อ เพียงเพราะมันง่ายกว่า... ใช่ไหม?
- From For Better or for Worse by Lynn Johnston.
หาการ์ตูนมาจากไหนเนี่ย แต่สนับสนุนความคิดนี้นะ
ReplyDeleteคนคิดชื่อเดียวกับคุณพอเลย ^^
ReplyDeleteเป็นนิสัยเสีย ที่ติดตัวมา จนกระทั่งมาเรียนวันนี้พบว่าทำอย่างนั้นต่อไปไม่ได้ งี้แล้วทำงัยต่อดีอ่ะ
ReplyDeleteอืม ปกติก็ไม่ค่อยอยากจะทำอย่างนั้นหรอกแต่ทำไงได้ บางทีเวลามันไม่เอื้ออำนวย แล้วบางทีต้องยอมรับว่า การ present กลุ่มมันวัดกันด้วย "ปริมาณ" ไม่ใช่ "คุณภาพ" (quantity, not quality)...
ReplyDeleteถ้าทำได้แบบนั้นก็คงจะดี แต่มันมีอีกหลายประเด็นที่ควรคำนึงถึง มันปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ?เวลาพอที่จะทำรึเปล่า แล้วถึงเวลาพอที่จะทำได้ แล้วมันต้องไปแย่งเวลาทำอย่างอื่นรึเปล่าถ้าต้องไปแย่งเวลาทำอย่างอื่น จะคุ้มมั้ยแล้วมีทางตรงกลางระหว่างสิ่งที่เป็นและสิ่งที่อยากให้เป็นบ้างมั้ย บางทีอาจจะไม่ใช่แค่แก้ที่ตัวนักเรียน เป็นประเด็นที่น่าสนใจ . . . (ประโยคเราไม่ต่อเนื่อง อย่างง ^^)
ReplyDeleteเพราะไม่ค่อยจะมีเวลาด้วยน่ะแหละ เรื่องของเรื่อง แต่เราก็ไม่ได้ทำแบบนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนะ เพราะถ้าไม่ตั้งใจทำก็คือไม่ส่งเลยมากกว่า (ซึ่งอย่างหลังออกจะมากกว่า โดยเฉพาะวิชาทางสังคม)
ReplyDeleteมันก็จริงนะคุณพอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย อย่างที่เอ๊กซ์บอกน่ะแหละ
ReplyDeleteจริงด้วยอ้ะเราว่าเทคโนโลยีสมัยนี้มันทำให้คนสบายขึ้น แถมยังขี้เกียจมากขึ้นอีกไม่ปฎิเสธ เพราะเราก็ทำแบบนี้ แง้ๆ
ReplyDeleteเคยอ่านรายงานเป็นปึก ๆ แล้วย่อให้เหลือหน้าเดียวอีกฅน ก๊อปมาสามหน้า copy-paste นั่นแหละได้คะแนนน้อยกว่าฅนนั้น โทษฐานเขียนสั้นกว่าอาจารย์อ่าน ถ้าไม่ได้เด่นชัดจริง ๆ ไม่ค่อยรู้หรอกว่าเขียนเองหรือก๊อปมาใช้เวลามากกว่า เหนื่อยกว่า คะแนนน้อยกว่า มีดีอย่างเดียวคือความภูมิใจที่เอาไปช่วยอะไรไม่ได้ตอนสมัครงานผมเลือกทางไหนดี?
ReplyDeleteอู้ยย... ชอบ comment พี่ก้อนมาก ๆ
ReplyDelete