17 December 2012

ด้วยผลแห่งการแสดงคารวะนี้...

...ขอให้ข้าพเจ้าเป็นคนดียิ่งขึ้นทุกวันทุกประการเป็นลำดับไป

ข้อความดังกล่าวคือวรรคสุดท้ายของบทสวดมนต์ประจำวันของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ

ความจริงบทสวดมนต์สาธิตเกษตร มีลักษณะเฉพาะอยู่หลายประการที่ไม่ตรงตามคำบูชาพระรัตนตรัยที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งถ้าจำไม่ผิดก็เคยเป็นเหตุให้เกิดความสับสน/แปลกใจเมื่อมีการจัดกิจกรรมกับนักเรียนต่างโรงเรียนมาไม่น้อย

ประการหนึ่งคือการสวด นโม สามจบก่อนขึ้นบท อรหํ สมฺมาฯ

อีกประการหนึ่งคือการมีบทสวดไหว้บิดามารดาและครูอาจารย์ตามหลังบทบูชาพระรัตนตรัย

อีกประการหนึ่งคือการกราบสามครั้งท้ายบทสวดมนต์

และอีกประการหนึ่งคือการมีบทสวดภาษาไทยประกอบคำบูชาพระรัตนตรัยแต่ละวรรค ซึ่งไม่ใช่บทคำแปลที่พบโดยทั่วไป ("พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง...") หากแต่เรียบเรียงให้สั้นลงและ (ขอเดาว่าน่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นสำหรับนักเรียน ป.1 ดังเช่นข้อความภาษาไทยของวรรคบูชาพระพุทธ ที่กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ผู้ได้ตรัสรู้ถูกต้องดีแล้ว"

อันที่จริงผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าโรงเรียนอื่น ๆ สอนบทสวดมนต์ให้กับนักเรียน ป.1 กันว่าอย่างไร แต่ผมคิดว่าตัวเองตอน ป.1 ก็คงบอกได้ว่าการมีคำอธิบายภาษาไทยให้รู้ว่าตัวเองกำลังสวดอะไรอยู่นั้น ทำให้การสวดมนต์มีความหมายขึ้นมาก (และก็จำได้ว่าไม่ชอบใจมาแต่เด็กที่ไม่มีใครบอกว่าบท นโม ตสฺส นั้นหมายถึงอะไร) ถึงแม้คำอธิบายดังกล่าวจะไม่ใช่คำแปลตามความหมายโดยตรง แต่ผมคิดว่ามันก็สรุปความและอธิบายเจตนารมณ์ของการให้สวดมนต์ได้ในระดับหนึ่ง

แต่ก็อีกหลายปีครับ กว่าจะได้ตระหนักว่าเราสวดมนต์ระลึกถึงพระรัตนตรัย เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและเตือนตนเองให้ยึดแนวทางคำสอนและตัวอย่างที่ดีงามเหล่านั้นเป็นหลักในการปฏิบัติตนและดำเนินชีวิต

แตกต่างจากการสวดมนต์ของศาสนาเทวนิยม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารกับพระเป็นเจ้าเป็นหลัก ทั้งเพื่อสักการะบูชา อ้อนวอนร้องขอ และอื่น ๆ

จึงดูน่าแปลกใจไม่น้อย ที่ความวรรคท้ายที่ผมอ้างถึงในชื่อบทความนี้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอีกประการของบทสวดมนต์สาธิตเกษตร กลับสื่อความเป็นการขอให้ได้ผลตอบแทนโดยตรงจากการสวดมนต์ ซึ่งดูขัดกับแนวคิดว่าการเป็นคนดีนั้นอยู่ที่กรรมที่ตนกระทำในทุกเวลาของชีวิต หาใช่มาจากเพียงการสวดมนต์ไม่

ที่จริงแล้วการบอกว่าน่าแปลกใจนั้นอาจจะไม่ถูกเท่าไรนัก เพราะถึงแม้ว่าผมจะกังขาความเหมาะสมของข้อความดังกล่าว แต่มันก็สะท้อนวิถีของพุทธศาสนาในสังคมและวัฒนธรรมไทย ที่ได้ผ่านการดัดแปลง ปรับเปลี่ยน และผสมผสาน ให้เข้ากับพื้นฐานความเชื่อของคนในสังคมมาช้านาน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสำหรับคนจำนวนมากแล้ว บทสวดมนต์ ซึ่งเดิมนั้นคงสำคัญที่เป็นเครื่องมือช่วยในการเจริญสติและบำเพ็ญวิปัสสนา ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นเครื่องมือในการอ้อนวอนขอร้องลาภยศและความสำเร็จกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลากหลาย ที่อาจจะบอกได้ยากว่ามีในคำสอนของศาสนาพุทธหรือไม่

ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นที่ดูน่าสนใจทีเดียวในเชิงศาสนาเปรียบเทียบ คำถามหนึ่งที่ถูกถามบ่อย ๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนาคือควรนับเป็นศาสนาหรือเปล่า เพราะนิยามคำว่าศาสนา (religion) ตามแนวคิดตะวันตกส่วนใหญ่จะกล่าวถึงความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่มีในคำสอนของศาสนาพุทธ

แต่กระนั้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทมากที่สุดในโลก ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามนิยามดังกล่าวนั้นก็มีให้เห็นได้อยู่ทั่วไป และได้หลอมรวมกับพุทธศาสนาจนน่าจะแยกจากกันได้ยาก

จึงน่าคิดว่า ต่อให้ศาสนาพุทธตามคำสอนจะไม่เข้าเกณฑ์นิยามคำว่าศาสนาตามแนวคิดตะวันตก แต่ศาสนาตามนิยามนั้นก็มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยจากการผสมผสานศาสนาพุทธกับความเชื่อพื้นบ้านต่าง ๆ

ถ้าอย่างนั้น จริง ๆ แล้วศาสนาพุทธ (ที่อาจจะไม่นับว่าเป็นศาสนา) จะตั้งอยู่โดด ๆ ในสังคมขนาดใหญ่ได้หรือเปล่า หรือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อย่างไรเสียก็ต้องสร้างความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ?

และเราจะบอกได้อย่างไร ว่าที่สวดมนต์แต่ละวัน เราสวดเพื่อเตือนสติตนตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา

หรือสวดเพื่อขอผลตอบแทนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังเช่นที่ศาสนาอื่น ๆ ต่างกระทำ?


Edited 2013-03-11: ผู้ได้ตรัสรู้

1 December 2012

Thailand: Getting to zero?

"Getting to Zero" is the United Nations' continuing theme for this year's World AIDS Day. It refers to zero new HIV infections, zero deaths from AIDS-related illness and zero discrimination.

I don't know exactly how achievable the declared targets and commitments are in Thailand. I certainly would like to hope they are, but although access to treatment and mother-to-child transmission prevention has seen much success in recent years and likely continues to improve, the country's approach is still, or has become, lagging in many important areas.

Much has been said of Thailand's success in combatting the first wave of the HIV epidemic. Education campaigns during the early 1990s effectively raised awareness of the disease and its risk factors, resulting in significant positive behavioural changes in the population. Condom use by sex workers became almost uniform. New infections dropped from almost 143,000 in 1991 to 29,000 in 2000.

This success, however, has seemingly led to complacence, if not by the government then in visible continued education efforts reaching the public. As the population has aged, today's youth have grown up without a media telling them of the dangers of unprotected sex. Indeed, with advances in anti-retroviral treatment, HIV today seems to have become just another disease to some. Combined with increasing trends in adolescent sexual activity, the youth sense of invulnerability and an unimproved sex education—Thailand's having the second-highest adolescent pregnancy rate was widely reported earlier this year—these factors could spell a resurgence of the epidemic in the subgroup, if not a recipe for disaster.

That resurgence has yet to occur. And I still hope that the combined magnitude of the HIV risk and unwanted pregnancy issues will have pressured society and the government to reconsider their stances on sex and education before then. An overhaul of current attitudes—the unmentionability of premarital sex in particular—is critical, though insistence on the part of various international and non-governmental organisations have so far resulted in little visible change.

Yet sexual transmission of HIV isn't the only remaining major issue. Though various campaigns and government efforts have been made, stigmatisation and discrimination is ever still present in Thai society. Limited public education has allowed misconceptions about the disease to continue, especially since what little many people know about AIDS came from the death scares of the 1990s. Although the issue seems most serious in rural areas, where in some places individuals remain shunned by entire communities and children barred from attending school, the extent of human rights violations is much farther. It is still the norm for workplaces to discriminate—illegally—against people living with HIV, whether they be manual labour or white-collar workers. And in a culture where status and labels guide social interaction, being HIV-positive often results in quick, condescending judgment. This is the case even in the medical setting, where many healthcare providers abandon professionalism and treat such patients with seeming contempt, all the worse if they also happen to fall into a stereotypical at-risk or low-socioeconomic group.

Clearly, lack of education isn't the only factor perpetuating such stigma and discrimination; social values and cultural norms also contribute. Apart from being a rights issue in itself, such discrimination also forms a barrier to accessing preventive measures and treatment. If left unchecked, this could develop into a vicious cycle in which some isolated groups become increasingly cut off.

Successive governments have reaffirmed their commitment to HIV/AIDS prevention, and cooperation with NGOs and other civil and private parties remains strong. However, society as a whole must also be willing to change certain attitudes. Whereas the 1990s' campaigns dared to defy taboos and brought sex to public attention, similar actions are needed now. The same campaigns from the past will do little to stop the increasing youth risk or achieve non-discrimination, unless the underlying social and cultural issues are confronted and dealt with.

And therein lies the real challenge.