เห็นสองสามวันมานี้ชอบมีส่วนร่วม ชอบแถลงการณ์กันจริง ทีแรกก็คิด ๆ อยู่ ว่าจะแต่งแถลงการณ์ส่วนตัวโพสท์ในนี้ ไม่ให้คนเข้าใจผิดว่ามีส่วนร่วมกับแถลงการณ์อื่นด้วย เอาให้มีข้อเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแก้ไขชื่อเป็น "พันธมิตรประชาชนเพื่อต่อต้านประชาธิปไตย" หรือไม่ก็ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" เพื่อความเข้าใจตรงกันในการถกเถียงปัญหา ให้รู้ชัด ๆ ว่าใครต้องการอะไรกันแน่ แล้วก็บอกแถมด้วยว่าผู้แถลงการณ์ "เคารพและให้ความสำคัญในสิทธิของบุคคลที่จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน" แต่เสียบเข้าไปหน่อยว่า "การเรียกร้องเพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองของตนเองนั้นไม่ควรทำโดยนำ 'ผลประโยชน์' ของประชาชนซึ่งอาจมิได้มีอุดมการณ์ร่วมด้วยมาเป็นข้ออ้าง" และ "การทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป ตลอดจนวิธีอื่น ๆ อันไม่อาจนับได้ว่าอารยชนพึงยอมรับนั้น นับเป็นการกระทำที่น่าตำหนิ"...
แต่คิด ๆ ดูแล้ว ทำไปก็คงเปลืองสมอง เปลืองทรัพยากรเปล่า ๆ ไม่จรรโลงใจหรือก่อประโยชน์อะไรขึ้นมา ก็เลย... ช่างมันเถอะ
มาพูดถึงเรื่องที่ค้างคากันมาหลายสัปดาห์แล้วดีกว่าครับ...
วันก่อน ขณะกำลังเดินไปทางศาลาพระเกี้ยวผ่านคณะรัฐศาสตร์ ผมก็ได้พบเห็นภาพหนึ่งที่ติดตาผมอย่างมากครับ
อ่า... ครับ น่าเสียดายที่ผมถ่ายภาพนั้นเก็บไว้ไม่ทัน จึงมีแต่ภาพที่ตัดต่อห่วย ๆ นี้มาให้ดู
แต่ผมว่าภาพนี้ก็สื่อความหมายที่ผมเห็นตอนนั้นได้ดีทีเดียว
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านจะเห็นเหมือนกับที่ผมเห็นหรือเปล่า แต่สำหรับผม ภาพนี้มันช่าง ironic อย่างหาที่เปรียบได้ยากจริง ๆ ครับ
ถังขยะ recycle รุ่นเก่า (จำนวนเทียบเท่า) สามใบ ที่ป้ายฉลากเลือนหายไปเกือบหมดแล้ว และใช้รหัสสีที่คงไม่มีใครจำได้¹ ถูกวางเรียงกันอยู่อย่างไม่มีใครใส่ใจเท่าไร ชิ้นส่วนหัว-หางสลับกันปนเปไปหมด ต่อให้ใครที่จำได้ว่าแต่ละสีนั้นหมายถึงอะไร ก็คงไม่มีปัญญาเลือกทิ้งได้ถูก และถึงกระนั้น ก็คงไม่เกิดผลอันใด เพราะเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ของมัน เหลือเป็นได้เพียงถังขยะธรรมดา ๆ สามใบ ที่จะทิ้งอะไรก็ได้เท่านั้น (ขอให้ทิ้งลงถังก็บุญแล้ว)
แต่นั่นไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะมีวิธีแยกขยะที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าการทิ้งขยะแยกถังอยู่แล้ว นั่นก็คือหญิงสาวคนนี้ที่เดินเก็บขวดพลาสติกตามถังขยะอยู่นี่เองครับ
แน่นอนว่าเธอไม่ได้อยู่คนเดียว อย่างไรเสียคงต้องมีคนอื่นที่คอยเก็บกระป๋อง เก็บขวดแก้ว เก็บอะไรต่อมิอะไรที่พอจะเอาไปทำความสะอาดเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกเป็นแน่แท้
เขาเหล่านี้เอง ที่เป็นส่วนหนึ่ง (ร่วมกับเหล่ากองทัพซาเล้ง และอื่น ๆ) เบื้องหลังกระบวนการ recycle ของประเทศนี้ ที่เป็นส่วนเติมเต็มช่องที่เหลือว่างอยู่จากความขาดระเบียบวินัย ความรู้ และความตระหนักของประชาชน ที่ทำให้เราไม่ต้องคอยแยกขยะอย่างยุ่งยากแบบในคู่มือ 14 หน้าของเมือง Yokohama
ผมยังเคยพูดอยู่บ่อย ๆ ครับ ว่าการขาดแนวทางการแยกขยะที่มีประสิทธิภาพของประเทศไทย มีส่วนในการสร้างงาน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง
แน่นอนว่ามันคงไม่สมบูรณ์แบบ และคงมีประสิทธิภาพเทียบกับแบบ Yokohama ไม่ได้ แต่คงไม่มีใครเถียงมั้งครับ ว่ามันก็ดูจะลงตัวที่สุดแล้ว สำหรับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน
เพราะขนาดผมเอง ที่พยายามแกะกล่องนมเปล่าล้างเพื่อเอาไปชั่งกิโลขาย ก็ยังไม่เคยมีปัญญาเก็บได้ถึงขีดเลยครับ
- ไม่แน่ใจว่าถังขยะเหล่านี้ใช้สีแบบเดียวกับถังขยะที่เห็นโผล่ขึ้นมาที่สาธิตเกษตรสมัยประมาณ ป.4 (?) หรือเปล่า (ปัจจุบันก็อาจจะยังอยู่? (ในสภาพที่อาจไม่ต่างจากในภาพด้านบน)) จำได้ว่าชุดนั้นจะเป็น สีแดง: กระดาษ, สีน้ำเงิน: แก้ว พลาสติก โลหะ, สีเขียว: อื่น ๆ, ซึ่งแม้ว่าตอนเด็ก ๆ ผมจะมักหงุดหงิดที่ไม่มีใครแยกขยะทิ้งตามที่ถังกำหนดไว้ แต่ลองมองย้อนกลับไป ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไรครับ
ไม่อยากจะบอกว่า สมัยนั้นก็รู้สึกเหมือนบ้าอยู่คนเดียวเหมือนกัน
ReplyDeleteแต่พอสักพัก ก็พบว่าถังขยะเริ่มไม่อยู่ด้วยกันสามใบ หรือเหมือนเคยเห็นว่าพอแยกไปแล้ว พนักงานเก็บขยะก็เอาไปรวมกันอยู่ดี
(นึกออกละ ที่บ้านเคยมีอยู่ช่วงนึงจะแยกพวกขยะแห้งที่เป็นกระดาษใส่ถุงเขียว แต่พนักงานเก็บขยะก็เอาไปรวมกันอยู่ดี)
เฮ้อ...
เคยได้ยินเกี่ยวกับไอเดียที่ควรจะออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ง่ายต่อการ [disassemble] สำหรับผู้บริโภค
ทุกวันนี้ขอแค่ขยะที่ควรลงถุงส้มไปสถิตย์อยู่ในถุงส้มได้จริง ๆ ก็พอใจแล้ว
ReplyDelete(ส้มหรือบางที่ก็แดง = ขยะติดเชื้อ)
ปล. สังเกตว่าไม่มีคนตอบย่อหน้าบน 555+...ไม่พูดเรื่องการเมืองดีกว่า เดี๋ยววงแตก
ลองเปลี่ยนไปเก็บกล่องที่พับล้างแล้วไปส่งรายการอะไรซักอย่างของช่อง 3 สิ เค้ารับกล่องไปrecycleให้คับ ได้บุญกว่าชั่งกิโลขายอีกนะ(หรืออาจจาสำเร็จง่ายกว่า?)
ReplyDeleteเคยพยายามล้างกล่องนมอยู่พักนึงเหมือนกันครับ
ReplyDeleteพบว่าไม่สำเร็จ
แต่คิดว่าจะยังพยายามต่อไป...