29 April 2005

การเข้ามหา'ลัย...

เมื่อกี้ดูถึงลูกถึงคนเมื่อวาน...

ยังไงก็คงหาข้อยุติที่จะนำการศึกษาของเราไปสู่ความเจริญไม่ได้ (ในเร็ว ๆ นี้) สินะ...

เฮ้อ...

แต่ที่ พญ.กมลพรรณแกล้งว่านี่ถูกนะ... ถ้าต้องการให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ทำไมไม่จับฉลากให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลยล่ะ จะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการคัดเลือกบ้าบอนี่

ที่จริงก็คงรู้กันอยู่... ก็ประเด็นคือที่เรียนมันไม่พอกับความต้องการ!!!

แล้วสาเหตุ (รองลงมา) ที่ต้องคัดเลือกคืออะไร? ก็มหาวิทยาลัยต้องการนักเรียนที่มีคุณภาพสูงที่สุด ที่น่าจะให้ผลประโยชน์ต่อตัวนักเรียนเอง มหาวิทยาลัย และประเทศชาติสูงที่สุด หลังจากที่จบออกมาแล้ว...

จริง ๆ แล้วตรงนี้ก็ไม่มีอะไรบอกเลย ว่าการคัดเลือกโดยการสอบเอ็นทรานซ์เป็นวิธีที่ให้ผลดีตรงไหน...

แต่การใช้ระบบ admission ที่จะสนองจุดประสงค์ตรงนี้ ก็ไม่ใช่การใช้คะแนนเก็บจากเวลาเรียน ฯลฯ เฉย ๆ... ถ้าอย่างนั้นมันจะต่างจากเดิมตรงไหน นอกจากจะทำให้วุ่นขึ้น แล้วยังเสียความยุติธรรมและความโปร่งใสไปอีก (ก็นักเรียนไม่ได้สอบในห้องเรียนเพื่อเก็บคะแนนอยู่แล้วรึ?) ไหนล่ะ การดูผลงานจาก portfolio ไหนล่ะ การสัมภาษณ์เพื่อวัดไหวพริบ ความพร้อมที่จะเข้าเรียน...

ก็มันมีไม่ได้ เพราะโครงสร้างสังคมเรามันยังไม่พร้อมที่จะทำ...

แล้วเหตุผลหลัก ที่บอกว่าที่นั่งเรียนไม่พอ ยิ่งทำให้ต้องการกระบวนการที่โปร่งใส มีหลักเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรม ตายตัว...

ซึ่งนั่นก็คือการสอบเอ็นทรานซ์~!

การเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้คะแนนในชั้นเรียน ฯลฯ ตอนนี้ก็เพียงแค่จะเพิ่มความวุ่นวายเข้าไปอีก เพราะไหนจะขัดแย้งกับการต้องการจัด element ในการเรียนที่ customized สำหรับนักเรียนแต่ละคน แต่ละท้องถิ่น ไหนจะมีปัญหากับความเหลื่อมล้ำในการให้คะแนนพวกนี้อีก...

เอาไว้ให้โรงเรียนให้การศึกษาที่มีคุณภาพทั่วถึง เอาไว้ให้มหาวิทยาลัยสามารถรองรับนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนได้เพียงพอ เอาให้สังคมมองเปลี่ยนมุมมองที่ว่าการได้เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิตนักเรียนเสียก่อน...

ถึงจะแก้ระบบได้อย่างประสบความสำเร็จ!

สรุปอีกที:
  1. การสอบเอ็นทรานซ์น่ะ ใคร ๆ ก็รู้ว่ามันบั่นทอนชีวิตนักเรียน... แต่การเปลี่ยนมาใช้คะแนนเรียนเนี่ย มันไม่เห็นจะช่วยตรงไหน
  2. ปัญหาอันดับแรกคือที่นั่งเรียนมันไม่พอกับความต้องการ
  3. และอันดับสองคือทัศนคติของสังคมต่อการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
  4. ปัญหาหลักสองข้อนี้ ทำให้ต้องการระบบที่โปร่งใส เป็นกลาง เป็นรูปธรรม ซึ่งก็คือการสอบเอ็นทรานซ์
อีกเรื่อง...
ไม่มีที่ไหนในโลกที่เจริญแล้วที่เขาคิดจะเปลี่ยนระบบไปมาตามใจชอบโดยไม่บอกล่วงหน้าก่อนที่เด็กจะขึ้น ม.ปลาย หรอก!!!

4 comments:

  1. เห็นด้วยมากๆ

    ถ้าเค้ายังไม่สามารถจัดมาตรฐานให้เท่าเทียมกันได้ก็ไม่น่าจะมาใช้คะแนน GPA มากขนาดนี้

    ไม่ได้ว่าเด็กต่างจังหวัดไม่เก่งนะ

    แต่มันไม่มีความยุติธรรม

    แต่ก็นั่นแหละ ความยุติธรรมก็หาไม่ได้จากโลกนี้อยู่แล้วหนิ

    ReplyDelete
  2. เฮ่ออ ทำไงได้อะ เราก็ได้แต่บ่นรึปล่าว
    สงสารพวกน้องๆอะเนอะ

    ว่าแต่อ่านไดพอวันนี้ เหมือนคุณพอเป็น นายแบงค์ที่ออกถึงลูกถึงคน ตอนสัมยเราเลยอะ

    ReplyDelete
  3. จริง ๆ เราว่าอีกประเด็นที่เค้าน่าจะมองคือในระบบมหา'ลัยด้วย หลาย ๆ ที่ที่หลักสูตรเองเราว่ามันก็ไม่ค่อยฉลาดเท่าไหร่ คล้าย ๆ กับมัธยมมันจำเป็นต้องทำตามระดับอุดมศึกษาอะไรประมาณนั้น

    เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วหลักสูตรมหา'ลัยเองก็ไม่ค่อยมุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะเท่าไหร่หรอก (ยังเป็น content based ไม่ใช่ skill based)

    ReplyDelete
  4. คือในความเห็นของเรานะ
    เราว่าการสอบเอ็นเป็นอะไรที่ยุติธรรมที่สุดแล้ว (ถ้าไม่นับจับฉลาก - เห็นด้วยกับด้านบน #2) อาจมีดวงนิดหน่อย แต่ใครอ่านมากทำมาก ก็ได้มาก

    ถ้าจะสอบไอ้โอเนต เอเนต อะไรนั่นน่ะ จะจัดสอบกันที่ไหน ก็คงไม่พ้นโรงเรียนใครโรงเรียนมัน ถ้าอ.สามารถปล่อยเกรดเพื่อให้เด็กของตนสามารถเข้ามหาลัยมากขึ้นได้ ทำไมอ.จะปล่อยเด็กลอกข้อสอบไม่ได้ อย่าพยายามบอกว่าจะจัดคนจากส่วนกลางลงไปคุมสอบ มันเป็นไปไม่ได้!!! จะฝันยังไม่กล้าฝันเลย

    เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่บอกว่า ม.ปลายไม่เป็นไร แล้วค่อยไปปรับพื้นกันตอนมหาลัย ไหงเหมากันเงี้ย แล้วจะให้เด็กไปเรียนม.ปลายทำไม แล้วทำไมมันไม่ทำให้ดีที่สุดตั้งแต่ม.ปลายเล่า

    โดยส่วนตัวชอบเอ็นทรานส์สมัยที่เอ็นได้ครั้งเดียว จะได้ทุ่มลงไปสุดตัวครั้งเดียวเลย ไม่ต้องมี GPA PR อะไรมาคิดให้ยุ่งยาก

    เคยมีอาจารย์สมัยม.ปลายท่านหนึ่งกล่าวว่า วิธีที่จะทำให้นกอยู่ในกรง ไม่หนีออกไปไหนมันมีหลายวิธี ทั้งทำให้เต็มใจ ทั้งการบังคับ ขึ้นกับว่าคนเลี้ยงจะใช้วิธีใด (รายละเอียดอาจผิดไปบ้าง แต่ใจความหลักประมาณนี้)

    ReplyDelete